22 มิถุนายน 2024, 17:22:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เว็บบอร์ด   ช่วยเหลือ ซื้อขายสินค้า Shop เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ:  16 มิ.ย.นี้ ชมจันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งแรกในรอบ 4 ปี  (อ่าน 2157 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
^SuRaYoOt^
Global Moderator
**


สูงต่ำอยู่ที่เราทำตัว ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวเราทำ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
ID number: 6
กระทู้: 14423
$3658.87 credits

View Inventory
Send Money to ^SuRaYoOt^

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 1788
-ได้รับ: 69260



พลังชีวิต
0%


« เมื่อ: 14 มิถุนายน 2011, 22:02:22 »




ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ครั้งสำคัญ จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งแรกในรอบ 4 ปี นานถึง 100 นาที

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. เผยว่า ในคืนวันที่ 15 มิ.ย.ถึงเช้ามืดของวันที่ 16 มิ.ย. 2554 จะเกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ คือ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี หลังจากเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 3 มี.ค.2550

สำหรับปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ นอกจากจะเป็นแบบเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 4 ปี แล้วยังเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่ยาวนานมากครั้งหนึ่งทีเดียว โดยดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามืดของโลกตั้งแต่เวลา 01.22 น. ของเช้ามืดวันที่ 16 มิ.ย.54 และเข้าสู่ช่วงคราสเต็มดวงตั้งแต่เวลา 02.22 น.จนถึง 04.03 น. รวมเป็นเวลาถึง 100 นาทีเต็ม ๆ หรือ 1 ชั่วโมง 40 นาที 52 วินาทีที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลก ทั้งนี้หากจะนับปรากฏการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นจะพบว่าการเกิดจันทรุปราคาครั้งนี้กินเวลานานถึง 3 ชั่วโมง 39 นาที ซึ่งถือว่ายาวนานมากอีกด้วย

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งนี้ เป็นชุดซารอสที่ 130 เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนที่ผ่านทางใต้ของกลุ่มดาวคนแบกงู และอยู่ใกล้กับกลุ่มดาวคนยิงธนู สำหรับผู้ที่เฝ้ารอชมจะเห็นเป็นดวงจันทร์สีแดงอิฐอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ สูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 30 องศา ชมได้ด้วยตาเปล่าทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย หากท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีเมฆและไม่มีแสงไฟรบกวน แถมจะมีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวงอีกด้วย

ดร.ศรัณย์ ได้อธิบายถึง การที่เราสังเกตเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเป็นสีแดง เนื่องมาจากแสงจากดวงอาทิตย์ก่อนที่จะไปถึงดวงจันทร์จะต้องผ่านเข้าไปในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก จึงทำให้แสงสีขาวจากดวงอาทิตย์เกิดการหักเหภายในชั้นบรรยากาศ เนื่องจากอนุภาคในชั้นบรรยากาศของโลก แสงสีน้ำเงินจะถูกหักเหออกได้ไปไกลกว่าแสงสีแดง ดังนั้นจึงมีแต่แสงสีแดงหรือสีส้มที่ไปตก กระทบบนผิวของดวงจันทร์ขณะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง

และถือว่าเป็นโอกาสดีอย่างมากสำหรับผู้สนใจปรากฏการณ์บนท้องฟ้า เพราะในขณะที่เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงแล้ว ยังมีปรากฏการณ์ซ้อนปรากฏการณ์เกิดขึ้นอีกด้วย โดยเป็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์ที่ชื่อว่า 51 Ophiuchi (โอฟีอุชชี) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์สีขาวที่อยู่นอกระบบสุริยะ และมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มาก แต่อยู่ไกลจากโลกมากถึง 446.35 ปีแสง

ทั้งนี้ เราจะมองเห็นดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชชี เริ่มหายเข้าไปหลังดวงจันทร์สีแดงอิฐในเวลาประมาณ 02.08 น. (เวลา ณ จังหวัดเชียงใหม่) และจะโผล่พ้นดวงจันทร์ออกมาในเวลาประมาณ 02.12 น.

สำหรับผู้ที่พลาดชมสำหรับจันทรุปราคาในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ สามารถรอชมได้อีกครั้งในวันที่ 10 ธ.ค.2554 ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายปี โดยเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงที่เกิดระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมง 32 นาที และดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกประมาณ 51 นาที

โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์มาเรียงอยู่ในระนาบเดียวกันพอดี และจะเกิดขึ้นในช่วงดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ปกติจะเกิดประมาณปีละ 1-2 ครั้ง และไม่ได้เห็นในทุกพื้นที่ สามารถเกิดได้สูงสุดประมาณ 4 ครั้งในรอบปี


  5 ลำดับความสว่างจันทรุปราคาเต็มดวง
       
ทั้งนี้ ระหว่างเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงเราจะเห็นดวงจันทร์เปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ หรือบางอาจจะเรียกว่าพระจันทร์สีเลือด สำหรับสาเหตุที่จันทร์เต็มดวงไม่มืดสนิทนี้ หาคำตอบได้จากบทความ “รู้ไหมว่า? ทำไม “จันทรุปราคาเต็มดวง” จึงเป็นสีแดงอิฐ” โดยความสว่างของจันทรุปราคาตามมาตราดังชง (Danjon Scale) ที่เสนอโดย อังเดร หลุยส์ ดังชง (Andre-Louis Danjon) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ใช้สัญลักษณ์ L แทน ความสว่าง (Luminosities) แบ่งได้เป็น 5 ระดับ
       
       เมื่อ L = 0 แสดงถึงจันทรุปราคาที่มืดมากจนเกือบมองไม่เห็นดวงจันทร์ , L = 1 แสดงถึงจันทรุปราคามีความมืดในระดับที่เห็นเป็นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ,L = 2 แสดงถึงจันทรุปราคาที่เป็นสีแดงเข้มหรือสีสนิมคราส , L = 3 แสดงถึงจันทรุปราคาที่เป็นสีแดงอิฐ และ L = 4 แสดงถึงจันทรุปราคาที่สว่างมาก มีทองแดงหรือสีส้ม
       
       พิเศษ! เกิดจันทร์บังดาวฤกษ์ระหว่างจันทรุปราคา
       นอกจากจันทรุปราคาครั้งนี้จะเกิดคราสนานชั่วโมงกว่าๆ แล้ว ยังเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบังดาวฤกษ์ เนื่องจากดวงจันทร์เคลื่อนผ่านทางใต้ของกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus) แล้วเคลื่อนไปบังดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี (Ophiuchi) หรือ 51 คนแบกงู พอดี โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงใกล้ๆ อุปราคาเต็มดวง ซึ่งผู้สังเกตใน จ.ชุมพรขึ้นไปจะเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ และตรวจสอบเวลาได้ในตารางการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบังดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี
       
       “ตามเวลา ณ เชียงใหม่ ดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี เริ่มหายเข้าไปหลังดวงจันทร์สีแดงอิฐในเวลา 02.08 น. แล้วจะโผล่พ้นดวงจันทร์ออกมาในเวลา 02.12 น. ปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ ลงไปถึง จ.ชุมพร ส่วนจังหวัดที่อยู่ใต้ลงไปจะเห็นเพียงจันทรุปราคาเฉียดดาวฤกษ์เท่านั้น” ดร.ศรัณย์ ยกตัวอย่างการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคราบังดาวฤกษ์ที่ จ.เชียงใหม่
       
       ทั้งนี้ ดาว 51 โอฟีอุชีนั้นอยู่ในตำแหน่ง “หัวเข่า” ของกลุ่มดาวคนแบกงู เป็นดาวฤกษ์สีขาวขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 426.35 ปีแสง สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าแต่ไม่ชัดนัก ซึ่งรองผู้อำนวยการ สดร.ระบุว่าปรากฏการณ์บังดาวฤกษ์นั้นเกิดขึ้นเป็นปกติบนท้องฟ้า แต่น้อยครั้งที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
       
       สดร.จัดเต็มถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ 3 ภาค เหนือ-กลาง-ใต้
       สำหรับการเกิดปรากฏการณ์จันทรปุราคาครั้งนี้ ทาง สดร.ได้ร่วมมือกับเครือข่าวดาราศาสตร์ใน จ.ฉะเชิงเทราและ จ.สงขลา จัดกิจกรรมและตั้งจุดสังเกตปรากฏการณ์ 3 แห่ง คือ 1.บริเวณดาดฟ้า ชั้น 3 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จ.เชียงใหม่ 2.หอดูดาวบัณฑิต จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งทางหอดูดาวยังได้ร่วมมือกับ ร.ร.เบญจมราชรังสฤษฏิ์, ร.ร.ไผ่แก้ววิทยา จ.ฉะเชิงเทรา และ ร.ร.ชลราษฎรอำรุง จ.ชลบุรี จัดกิจกรรมและตั้งกล้องโทรทรรศน์สำหรับสังเกตปรากฏการณ์ และ 3.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จ.สงขลา
       ทั้งนี้ ติดตามการถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จันทรุปราคาผ่านอินเทอร์เน็ตจากจุดสังเกตุทั้ง 3 แห่งได้ที่ http://118.1...34.82/lunar/
       
       เกิดจันทรุปราคาได้อย่างไร?
       องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดจันทรุปราคาคือ “เงาของโลก” ซึ่งเมื่อดวงอาทิตย์ส่องมายังโลกที่เป็นวัตถุทึบแสง จะทำให้เกิดเงาทอดไปในอวกาศ และเมื่อดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงาโลกเราจึงได้เห็นปรากฏการณ์อุปราคาดังกล่าว โดยเงาโลกมีส่วน 2 ส่วน คือ เงามืด (Umbra Shadow) ซึ่งเมื่อลากเส้นสัมผัสจากดวงอาทิตย์ผ่านโลกจะได้ลักษณะเงาทอดเป็นกรวยแหลม และเงามัว (Penumbra Shadow) ซึ่งเมื่อลากเส้นสัมผัสโดยให้เกิดจุดตัดระหว่างโลกและดวงอาทิตย์จะได้ลักษณะเงาถ่างออก
       
       ข้อมูลจากเอกสารจันทรุปราคาของ สดร.ระบุอีกว่า ในแต่ละปีจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงประมาณ 1-2 ครั้ง และในปีที่ดวงจันทร์เต็มดวงถึง 13 ครั้ง ซึ่งมีบางเดือนที่เกิดจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งและเรียกปรากฏการณ์ในเดือนนั้นว่า “บลูมูน” (Blue Moon) จะเกิดจันทรุปราคาสูงสุดถึง 4 ครั้ง แต่ในปีดังกล่าวจะไม่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง
       
       รู้จักจันทรุปราคาทุกรูปแบบ
       จันทรุปราคาแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1.จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) คือ ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกทั้งดวง ซึ่งดวงจันทร์จะค่อยมืดหายไปทั้งดวงแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐเมื่อคราสบังเต็มดวง 2.จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse) คือปราฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเงามืดและเงามัว โดยเห็นดวงจันทร์มืดปเพียงบางส่วน เท่านั้น และ 3.จันทรุปราคาเงามัว (Penumbra Lunar Eclipse) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเขตเงามัวของโลกโดยไม่ผ่านเงามืด ซึ่งเรายังคงเห็นดวงจันทร์เต็มดวง เนื่องจากตาของเราไม่สามารถแยกแยะความความสว่างที่ลดลงไปเพียงเล็กน้อยได้
       
       “อย่างไรก็ดี การชมปรากฏการณ์นี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ หากท้องฟ้าไม่โปร่ง มีเมฆมากก็จะไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งหากพลาดการชมปรากฎการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 16 มิ.ย.สามารถรอชมได้อีกครั้งในวันที่ 10 ธ.ค.นี้” ดร.ศรัณย์ กล่าว

ที่มา สนุกดอทคอม และเมเนเจอร์ออนไลน์ครับ  สำนึกผิด

อย่าลืมดูนะครับ  Roll Eyes
บันทึกการเข้า

ไม่รับตอบปัญหาทาง PM  ไม่ต้องขอโปรแกรมทุกชนิดทาง PM

 
UFO
ж UFo ☺ ж
Global Moderator
**


★UFO★
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รางวัล:
Donateผู้สนับสนุน
ID number: 2205
กระทู้: 1428
$3662.21 credits

View Inventory
Send Money to UFO

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 1772
-ได้รับ: 4804

เครื่อง: Holux GP smile 62 F
โปรแกรม: iGo 8.3 / iGo PRIMO / Sygic


พลังชีวิต
0%


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 มิถุนายน 2011, 23:48:03 »

สงสัยจะนอนก่อนแน่เลยครับ พลาดตลอดตั้งแต่ฝนดาวตกเมื่อ 13 ปีก่อน
บันทึกการเข้า
Pega
S8 member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รางวัล:
s4s3s2...
ID number: 5
กระทู้: 461
$5.70 credits

View Inventory
Send Money to Pega

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 594
-ได้รับ: 883



พลังชีวิต
0%


« ตอบ #2 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2011, 09:07:13 »

นอกจากชมจันทรคราสแล้ว ของเราต้องมีใหว้ราหูด้วยครับ ของดำ คงขายดีอีกแล้วครับ   Cheesy
บันทึกการเข้า

Smile62+2Din All in one Smiley
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP

Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
SimplePortal 2.3.5 © 2008-2012, SimplePortal | Thai language by ThaiSMF

SMFAds for Free Forums
© Copyrights 2010 navthai.com mod by trex_ln
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 42 คำสั่ง